วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8 วันที่ 26 เดือนธันวาคม พ.ศ.2556

วันนี้งดการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับการแข่งขันกีฬาบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6 วันที่ 12 เดือนธันวาคม พ.ศ.2556

พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

พัฒนาการ คือ
- การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
- ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
- เด็กที่มีพัฒนาการล้าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
- พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
- พัฒนาการล้าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล้าช้าด้วยก็ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
- ปัจจัยด้านชีวภาพ : พันธุกรรม
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด : การติดเชื้อ สารพิษ
- ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด: การติดเชื้อ สารพิษ : ภาวะแทรกซ้อนในขณะคลอด
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด : ระบบประสาทและภภาพแวดล้อม

สาเหตุที่ทำให้บกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคทางพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิด หรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
2. โรคทางระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการ หรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ "อาการชัก"
3. การติดเชื้อ ชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรง ภายหลังการเกิด เช่น สมองอักเสบ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึ่ม โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยคือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะเกิด เช่น การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกตัวน้อย ภาวะการขาดออกซิเจน
6. สารเคมี
ตะกั่ว เป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด เด็กที่ได้รับตะกั่วในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้มีระดัยสติปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไป
- แอลกอฮอร์ ทำให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย พํฒนาการของสติปัญญาบกพร่อง เด็กที่แม่ทานแอลกอฮอร์เยอะตั้งแต่อยู่ในท้องจะทำให้เกิดอาการ Fetai-alcohol คือมีตัวเล็ก ตาเล็ก ช่วงตาสั้น ร่องริมฝีปากเรียบ ริมฝีปากบนยาวและบาง หนังคลุมตาหนามาก จมูกแบบ ปลายจมูกเชิดขึ้น
- นิโคติน ทำให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์ เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งขาดสารอาหาร

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
- มีพัฒนาการล้าช้าซึ่งอาจพบมากกว่า1 ด้าน
- ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไป แม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
- โรคประจำตัว
- การเจ็บป่วยในครอบครัว
- ประวัติการฝากครรภ์
- ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
- พัฒนาการที่ผ่านมา
- การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง
- ปัญหาพฤติกรรม
- ประวัติอื่นๆ เช่นฐานะทางบ้าน

เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า
- ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบปกติ หรือถดถอย
- เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่  อย่างไร อยู่ในระดับไหน
- มีข้อบ่งชี้ มีสาเหตุจากโรคพันธุกรรมหรือไม่
- สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
- ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและพื้นฟูอย่างไร

2. การตรวจร่างกาย
- ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
- ภาวะตับม้ามโต
- ผิวหนัง
- ระบบประสาทต่างๆ และวัดศีรษะด้วยเสมอ
- ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม
- ระบบการมองเห็นและการได้ยิน

3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ โดยหมอเป็นผู้ตรวจ

4. การประเมินพัฒนาการ
- การประเมินแบบไม่เป็นทางการ (สอบถามพ่อแม่)
- การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
  * แบบทดสอบ Denver II
  * Gesell Drowing Test
  * แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด-5ปี ของสถาบันราชานุกูล

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556