วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 15 วันที่ 13 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2557


การเรียนการสอนในวันนี้ มีดังนี้

เด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ (L.D.)

การดูแลให้ความช่วยเหลือ
  • สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
  • มองหาจุดดี จุดแข็งของเด็กและให้คำชมอยู่เสมอ
  • ให้การเสริมแรงทางบวก
  • รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
  • วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
  • สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็ก
  • จัดทำแผน IEP
การรักษาด้วยยา
  • Ritalin
  • Dexedrine
  • Cylert
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ
  • โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
  • ศูนย์การศึกษษพิเศษ
  • โรงเรียนเฉพาะความพิการ
  • สถาบันราชานุกูล
อาจารย์ให้ดู วีดีทัศน์ เรียนอย่างไรในศูนย์การศึกษาพิเศษ สรุปได้ดังนี้


วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14 วันที่ 6 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2557

เนื่องจากวันนี้อาจารย์ต้องไปค่ายอาสาพัฒนาชุมชนที่จังหวัดสุราษฎ์ธานี จึงงดการเรียนการสอน



วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13 วันที่ 30 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอนในวันนี้

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1. Down syndrom
- รักษาตามอาการ เน้นการช่วยเหลือตนเอง
- แก้ไขความผิดปกติร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะพบโรคหัวใจ
- เน้นการดูแลแบบองค์รวม
  • ด้านอนามัย พ่อแม่พาไปหาหมอตั้งแต่แรกเริ่ม
  • ส่งเสริมพัฒนาการ ต้องได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
  • การดำรงชีวิต ต้องฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง
  • ฟื้นฟูสมรรถภาพ เช่นการฟื้นฟูทางการแพทย์ การทำแผน IEP ฟื้นฟูด้านสังคม การฝึกอาชีพ
- การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
  • ท่านอนควรให้นอนตะแคง
  • ใช้อุปกรณ์หยาบถูเพื่อกระตุ้นการสัมผัสให้เด็ก
- การปฏิบัติของพ่อแม่
  • ต้องยอมรับความจริงให้ได้
  • ให้ความรักความอบอุ่น
- การส่งเสริมพัฒนาการ
  • พัฒนาทักษะทางภาษา คณิตศาสตร์
  • สอนวิธีการปรับตัว และช่วยเหลือตัวเอง
  • สังคมยอมรับ เช่น การเรียนร่วม
  • ลดปัญหาพฤติกรรมที่ไม่ควร

2. Autistic

- ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
  • ครอบครัวมีบทบาทมากที่สุดในการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
- ส่งเสริมความสามารถเด็ก
  • การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กเล่นอย่างหลากหลาย
  • ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
- การปรับตัวและฝึกทักษะทางสังคม
  • เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมไม่เหมาะสม
  • การให้แรงเสริม
- การฝึกการพูด
  • ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
  • ลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดจากการสื่อสารไม่เข้าใจ
  • การสื่อความหมายทดแทน
- การส่งเสริมพัฒนาการ
  • ให้เด็กมีพัฒนาการไปตามวัย
  • เน้นเรื่องการมองตา สมาธิ ฟัง พูด ทำตามคำสั่ง
  • ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นๆ ที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาด้านการสื่อสาร สังคม การปรับพฤติกรรม
- ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  • เพิ่มทักษะทางสังคม สื่อสาร การคิด
  • ทำแผน IEP
  • โรงเรียนร่วม หรือโรงเรียนคู่ขนาน
- ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  • การรักษษด้วยยา เช่น Methyphenidate ลดอาการซน หุนหันพลันแล่น
  • การบำบัดทางเลือก เช่น ศิลปะบำบัด การฝังเข็ม
- สิ่งที่พ่อแม่ควรคำนึง
  • ลูกต้องพัฒนาได้
  • เรารักลูกไม่ว่าลูกจะเป็นอย่างไร
  • ถ้าเราไม่รักลูกแล้วใครจะรัก
  • หยุดไม่ได้
  • ดูแลจิตใจตัวเองให้เข้มแข็ง

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12 วันที่ 23 เดือนมกราคม พ.ศ.2557


วันนี้เพื่อนๆนำเสนองานที่ยังตกค้าง คือ เด็กออทิสติก (Autism)
  • เด็กออทิสติกหมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
  • เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและแตกต่างจากคนอื่น
  • เด็กออทิสติกจะมีพัฒนาการด้านภาษาและพัฒนาการด้านสังคมต่ำมาก
  • ปรากฎในระยะ 3 ปีแรกของชีวิต
***วันนี้มีการสอบกลางภาคของรายวิชา ซึ่งเป็นการสอบนอกตาราง***

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 11 วันที่ 16 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

เนื่องเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง เพื่อนๆหลายคนไม่สะดวกในการเดินทาง จึงจำเป็นต้องงดการเรียนการสอน อาจารย์มอบหมายงานให้สรุปงานวิจัยที่หามาใส่กระดาษ A4  มีหัวข้อดังนี้
  1. ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
  2. ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
  3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  4. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
  5. นิยามศัพท์เฉพาะ
  6. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
  7. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  8. การดำเนินการวิจัย
  9. สรุปผลการวิจัย
  10. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้


วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 10 วันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอนในวันนี้คือ ดูเพื่อนๆนำเสนองาน ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) หรือเรียกย่อๆว่า L.D.
กลุ่มที่ 2 ซีพี หรือ ซีรีบรัล พัลซี่ (C.P. : Cerebral Palsy)
กลุ่มที่ 3 เด็กสมาธิสั้น Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) หรือเรียกย่อๆว่า ADHD
กลุ่มที่ 4 ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
             
        ซึ่งกลุ่มของฉันนำเสนอเด็กซีพี เป็นอาการอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการผิดปกติอย่างถาวรจนทำให้การควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อสูญเสีย หรือบกพร่อง เช่น การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่กิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่คือ
- อัมพาตเกร็งของแขนขาครึ่งซีก
- อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ
- อัมพาตสูญเสียการทรงตัว
- อัมพาตตึงแข็ง
- อัมพาตแบบผสม

อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาลองทำแบบทดสอบ Gesell Drawing Test

อ้างอิงภาพจาก  www.babyfancy.com

           เป็นการวัดความสามารถทางด้านกล้ามเนื้อมือและการประสานการทำงานระหว่างตากับมือตามระดับอายุ ที่ควรจะเป็น ซึ่งฉันสามารถทำได้

จากนั้นอาจารย์สอนเพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้วเรื่องพัมนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ดังนี้

แนวทางในในการดูแลรักษา

- หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
- การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
- การรักษาสาเหตุโดยตรง
- การสังเสริมพัฒนาการ
- ให้คำปรึกษากับครอบครัว

ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1. การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
2. การตรวจประเมินพัฒนาการ
3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557