วันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 8 วันที่ 26 เดือนธันวาคม พ.ศ.2556

วันนี้งดการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับการแข่งขันกีฬาบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม



วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6 วันที่ 12 เดือนธันวาคม พ.ศ.2556

พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

พัฒนาการ คือ
- การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
- ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
- เด็กที่มีพัฒนาการล้าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
- พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน หรือทุกด้าน
- พัฒนาการล้าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล้าช้าด้วยก็ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
- ปัจจัยด้านชีวภาพ : พันธุกรรม
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด : การติดเชื้อ สารพิษ
- ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด: การติดเชื้อ สารพิษ : ภาวะแทรกซ้อนในขณะคลอด
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด : ระบบประสาทและภภาพแวดล้อม

สาเหตุที่ทำให้บกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคทางพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิด หรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
2. โรคทางระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการ หรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ "อาการชัก"
3. การติดเชื้อ ชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรง ภายหลังการเกิด เช่น สมองอักเสบ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึ่ม โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยคือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะเกิด เช่น การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกตัวน้อย ภาวะการขาดออกซิเจน
6. สารเคมี
ตะกั่ว เป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด เด็กที่ได้รับตะกั่วในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้มีระดัยสติปัญญาต่ำกว่าคนทั่วไป
- แอลกอฮอร์ ทำให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย พํฒนาการของสติปัญญาบกพร่อง เด็กที่แม่ทานแอลกอฮอร์เยอะตั้งแต่อยู่ในท้องจะทำให้เกิดอาการ Fetai-alcohol คือมีตัวเล็ก ตาเล็ก ช่วงตาสั้น ร่องริมฝีปากเรียบ ริมฝีปากบนยาวและบาง หนังคลุมตาหนามาก จมูกแบบ ปลายจมูกเชิดขึ้น
- นิโคติน ทำให้น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์ เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งขาดสารอาหาร

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
- มีพัฒนาการล้าช้าซึ่งอาจพบมากกว่า1 ด้าน
- ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไป แม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
- โรคประจำตัว
- การเจ็บป่วยในครอบครัว
- ประวัติการฝากครรภ์
- ประวัติเกี่ยวกับการคลอด
- พัฒนาการที่ผ่านมา
- การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตนเอง
- ปัญหาพฤติกรรม
- ประวัติอื่นๆ เช่นฐานะทางบ้าน

เมื่อซักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า
- ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบปกติ หรือถดถอย
- เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่  อย่างไร อยู่ในระดับไหน
- มีข้อบ่งชี้ มีสาเหตุจากโรคพันธุกรรมหรือไม่
- สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
- ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและพื้นฟูอย่างไร

2. การตรวจร่างกาย
- ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต
- ภาวะตับม้ามโต
- ผิวหนัง
- ระบบประสาทต่างๆ และวัดศีรษะด้วยเสมอ
- ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม
- ระบบการมองเห็นและการได้ยิน

3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ โดยหมอเป็นผู้ตรวจ

4. การประเมินพัฒนาการ
- การประเมินแบบไม่เป็นทางการ (สอบถามพ่อแม่)
- การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
  * แบบทดสอบ Denver II
  * Gesell Drowing Test
  * แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด-5ปี ของสถาบันราชานุกูล

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4 วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

การเรียนการสอนในวันนี้ มี 3 เรื่องดังนี้

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอามณ์ (Children with Behaviorally and Emotional Disorders)

        หมายถึง เด็กที่มีกล้ามเนื้อบกพร่องด้วย ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ปกตินานๆไม่ได้ ทำตามกฎเกณฑ์ไม่ได้เลย อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
  • เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ทำให้ก้าวร้าวมาก
  • เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ ทำให้เกิดความกังวล หนีสังคม ก้าวร้าว
การจะจัดว่าใครมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆดังนี้
  • สภาพแวดล้อม
  • ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์จะได้รับผลกระทบ ดังนี้
  • ไม่สามารถเรียนกับเด็กปกติได้
  • มักอยู่คนเดียว
  • เก็บกดเข้ากับคนิื่นไม่ได้
  • บ่นปวดตามร่างกาย
  • มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมรุนแรงมาก ได้แก่

1. เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
2. เด็กออทิสติก (Autistic)

ลักษณะเด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรม
  • ฉี่ราด
  • ติดขวดนม/ของใช้
  • ดูดนิ้ว/กัดเล็บ
  • หนีสังคม
  • พูดเพ้อเจ้อ
  • เรียกร้องความสนใจ
  • อ่อนไหว
  • อิจฉา/ก้าวร้าว
  • ฝันกลางวัน
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)

          หมายถึงเด็กที่มีเชาว์ปัญญาปกติหรือเรียกอีกอย่างว่าเด็ก L.D. มักมีปัญหาในการเรียนรู้บางอย่างเช่น การพูด การอ่าน การเขียน การฟัง การสะกดคำ การคำนวน ไม่รวมเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย เด็กพิการ

ลักษณะอาการ
  • มีปัญหาทักษะทางคณิตศาสตร์
  • ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
  • เรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
  • ซุ่มซ่าม
  • เอาแต่ใจตัวเอง
เด็กออทิสติก(Autistic)

หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าเริ่มตั้งแต่แรกเกิด-3ขวบ บกพร่องทางพฤติกรรมประกอบด้วย
  • เด็กที่บกพร่องทางรุนแรงในการสื่อสาร
  • เด็กแต่ละคลมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
  • มีความบกพร่องทางสติปัญญานิดๆ แต่มีเชาว์ปัญญาปกติ
  • มีความอัจริยะ
  • มีทักษะทางสังคมน้อย
  • มีทักษะทางภาษาน้อย
  • ทักษะทางการเคลื่อนไหวและทักษะเกี่ยวกับรูปทรงมีค่อนข้างน้อย
ลักษณะอาการ
  • อยู่กับตัวเอง
  • ไม่เข้าหาคนอื่นเพื่อให้ปลอบ
  • ไม่เล่นกับกลุ่มเพื่อน
  • เรียกแล้วไม่หัน
  • ต่อต้าน แสดงอารมณ์อย่างไร้เหตุผล
  • ไม่ยอมพูด
  • ยึดติดกับวัตถุ
  • เหมือนหูหนวก
  • จ้องอะไรนานๆ
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)

หมายถึง เด็กที่มีความบกร่องมากกว่า 1 อย่าง เป็นเหตุให้มีปัญหาในการเรียนรู้ เช่น ปัญญาอ่อนร่วมกับหูหนวก หูหนวกร่วมกับตาบอด

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3 วันที่ 21 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with physical and Health Impairments)

  • อวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดหายไป
  • ปัญหาระบบประสาท
  • ลำบากต่อการเคลื่อนไหว
จำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. บกพร่องทางร่างกาย  ได้แก่
       ซีพี (Cerebral Palsy)
  • เกิดจากสมองพิการ  สมองถูกทำลายก่อนคลอด  ระหว่างคลอด  หรือหลังคลอด
  • เคลื่อนไหว  พูด  พัฒนาการล่าช้า
อาการ
  • อัมพาตเกร็ง  แขน  ขา  ครึ่งซีก
  • เคลื่อนไหวผิดปกติ
  • สูญเสียการทรงตัว 
       กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
  • เส้นประสาทควบคุมสมองกล้ามเนื้อสลายตัว
  • เดินไม่ได้  นั่งไม่ได้  นอนอยู่กับที่
  • พิการซ้ำซ้อนภายหลัง  ความจำแย่ลง  ปัญญาเสื่อม
       โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
  •  ระบบกล้ามเนื้อพิการตั้งแต่กำเนิด เท้าปุก
  • กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน
  • อัมพาตครึ่งท่อน
  • กระดูกกล้ามเนื้อจากโคติดเชื้อ
  • กระดูกหัก  ข้อเคลื่อน
       โปลีโอ (Poliomyelitis)
  • กล้ามเนื้อเฃลีบเล็ก
  • เชื้อเข้าทางปาก
       แขนขาด้านตั้งแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
       โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis  Imperfeta)
2. บกพร่องทางสุขภาพ  ได้แก่
       โรคลมชัก  (Epilepsy)

  • เกิดจากความผิดปกติของสมอง
  • ลมบ้าหมู  ชักหมดสติ  แขนขากระตุก  กัดฟัน  กัดลิ้น
  • การชักในช่วงเวลาสั้นๆ  5-10  วินาที  เด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก  อาจนั่งเฉย  ตัวสั่น  เล็กน้อย
  • การชักแบบรุนแรง  ส่งเสียง  หมดความรู้สึกล้มลง  กล้ามเนื้อเกร็ง  2-5  นาที
  • อาการชักแบบ  Partial  Complex  เกิดเป็นระยะ  กัดริมฝีปาก  ไม่รู้สึกตัว  ดูตามแขนขา  เดินไปมา  อาจโกรธ  หลังชักจำไม่ได้  ต้องการนอนพัก
  • อาการไม่รู้สึกตัว  ระยะสั้น  ไม่รู้สึกตัว  อาจร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า  เดินเหม่อลอย
       โรคระบบทางเดินหายใจ
       โรคเบาหวาน
       โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
       โรคศีรษะโต
       โรคหัวใจ
       โรคมะเร็ง
       เลือดไหลไม่หยุด

ลักษณะบกพร่องทางร่างกายและบกพ่องทางสุขภาพ

  • มีปัญหาการทรงตัว
  • เดินคล้ายกรรไกร
  • เดินขากะเผลก  อืดอาด  เชื่องช้า
  • ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
  •   มักบ่นเจ็บหน้าอก  บ่นปวดหัว
  • หน้าแดงง่าย  สีเขียวจางบนแก้ม  ปาก  ปลายนิ้ว
  • ล้มบ่อย
  • หิวและกระหายน้ำเกินกว่าเหตุ
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(Children  with  Speech  and  Language  Impairment)
       1.) ผิดปกติด้านการออกเสียง
  • เพี้ยนจากภาษาเดิม
  • เพิ่มเสียง
  • ใช้อีกเสียงแทนเสียงเดิม
       2.) ความผิดปกติด้านจังหวะ  เวลาพูด  เช่น  พูดรัว  พูดติดอ่าง
       3.) ความผิดปกติด้านเสียง
  • ระดับเสียง
  • ความดัง
  • คุณภาพเสียง
4.) ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิที่สมอง  เรียกว่า  Dysphasia  หรือ  Aphasia  แบ่งเป็น
  • Motor Aphasia  เข้าใจคำสั่ง  แต่พูดตอบไม่ได้  ออกเสียงลำบาก
  • Wernicks  Aphasia  ไม่เข้าใจคำสั่ง  ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย  ออกเสียงไม่ติดขัดแต่ใช้คำผิดหรือไม่มีความหมาย
  • Conduction  Aphasia  ออกเสียงไม่ติดขัด  เข้าใจคำถาม  แต่พูดตามไม่ได้  บอกชื่อสิ่งของไม่ได้  เกิดร่วมกับอัมพาตของร่างกสยซีกขวา
  • Nominal  Aphasia  ออกเสียงได้  เข้าใจคำถามดี  พูดตามได้  แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้
  • Global  Aphasia  ไม่เข้าใจภาษาพูด  ภาษเขียน  พูดไม่ได้
  • Sensory  Agrophia  เขียนเองไม่ได้  เขียนตอบคำถาม  ชื่อวัตถุไม่ได้  แต่เขียนตามได้
  • Motor  Agraphia  ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้  เขียนตามคำบอกไม่ได้
  • Cortical  Alexa  อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา
  • Motor  Alexia  เห็นตัวหนังสือแล้วเข้าใจ  แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
  • Gerstmann' s syndrome
- ไม่รู้ชื่อนิ้ว
- ไม่รู้ซ้าย  ขวา
-  คำนวนไม่ได้
-  เขียนไม่ได้
- อ่านไม่ออก
  • Visual  Agnosia  เห็นวัตถุแต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร
  • Auditory  Agnosia  ไม่บกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายที่ได้ยินไม่เข้าใจ
ลักษณะ
  • วัยทารกมักเงียบผิดปกติ  ร้องไห้เบาๆ  อ่อนแรง
  • ไม่อ้อแอ้ภายใน  10  เดือน
  • ไม่พูดภายใน  2  ขวบ
  • หลัง  3  ขวบยังฟังไม่เข้าใจ
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
  • หลัง  5  ขวบ  ใช้ภาษาไม่สมบูรณ์
  • มีปัญหาการสื่อความหมาย  พูดตะกุกตะกัก
  • ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2 วันที่ 14 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556


สรุปความรู้จากการเรียนได้ดังนี้

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
       ความหมายทางการแพทย์มักเรียกว่า "เด็กพิการ"  ซึ่งมีความผิดปกติ  มีความบกพร่อง  สูญเสียสมรรถภาพ  อาจเป็นความผิดปกติความบกพร่องทางกาย  สูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา  ทางจิตใจ
       ความหมายทางการศึกษามักเรียกว่า เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะตัวเอง  ต่างจากเด็กปกติด้านเนื้อหา  หลักสูตร  กระบวนการที่ใช้  และการประเมินผล
       สรุป  เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้ความช่วยเหลือ  และการสอนตามปกติ
       -สาเหตุ  ความบกพร่องทางด้านร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์
       -จำเป็นต้อง  ได้รับการกระตุ้น  ช่วยเหลือ  บำบัด  ฟื้นฟู
       -จัดการเรียน  ให้เหมาะกับลักษณะและความต้องการของแต่ละบุคคล

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาเลิศ  ลักษณะความสามารถสูง
2. กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่อง 9 ประเภท  ได้แก่
- บกพร่องทางสติปัญญา
- บกพร่องทางการได้ยิน
- บกพร่องทางการเห็น
- บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
- บกพร่องทางการพูดและภาษา
- บกพร่องทาพฤติกรรมและอารมณ์
- ปัญหาทางการเรียนรู้
- เด็กออทิสติก
- เด็กพิการซ้อน

1. เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา (Children with Intellectual Disabities)

(ระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย  เมื่อเทียบกับเด็กรุ่นเดียวกัน)
       เด็กเรียนช้า  สามารถเรียนชั้นปกติได้  ความสามารถทางการเรียนล่าช้า  บกพร่องเล็กน้อย
สาเหตุจากภายนอก = สิ่งแวดล้อม  ครอบครัว
สาเหตุจากภายใน = พัฒนาการช้า  การเจ็บป่วย
       เด็กปัญญาอ่อน
  • มีภาวะพํฒนาการหยุดชะงัก
  • มีสติปัญญาต่ำ
  • ความสามารถการเรียนรู้น้อย
  • จำกัดด้านทักษะ
  • พัฒนาการล่าช้า
  • ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมยาก
เด็กปัญญาอ่อน  แบ่งได้  4  กลุ่ม
  1. ปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก  (IQ ต่ำกว่า  20 )  ไม่สามารถเรียนรู้ได้ต้องรักษาพยาบาลเท่านั้น
  2. ขนาดหนัก (IQ 20-34) ไม่สามารถเรียนได้  ช่วยเหลือตนเองได้เล็กน้อย  C.M.R
  3. ปัญญาอ่อนปานกลาง  (IQ 35-49) เรียนทักษะง่ายๆได้ T.M.R
  4. ปัญญาอ่อนน้อย (IQ 50-70) เรียนระดับประถมได้ E.M.R
ลักษณะ
  • ไม่พูด  พูดไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น
  • รุนแรง  ไม่มีเหตุผล
  • อารมณ์เปลี่ยนบ่อย รอคอยไม่ได้
  • ทำงานช้า
  • อวัยวะมีรูปร่างผิดปกติ
  • ช่วยตนเองได้น้อยกว่าววัยเดียวกัน
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)
สูญเสียการได้ยิน แบ่งได้  2  ประเภท

1.) หูตึง
  • หูตึงระดับน้อย  ได้ยินระหว่าง  26-40 db
  • หูตึงระดับปานกลาง  ได้ยินระหว่าง  41-55  db
  • หูตึงระดับมาก  ได้ยินระหว่าง  56-70  db
  • หูตึงระดับรุนแรง  ได้ยินระหว่าง  71-90  db 
2.) หูหนวก
  • สูเสียการได้ยิน  หมดโอกาสเข้าใจภาษาพูดจากการฟัง  ใช้เครีื่องช่วยฟังไม่ได้
  • ได้ยินตั้งแต่  90 db  ขึ้นไป
ลักษณะ
  • ไม่ตอบสนองเสียงพูด
  • พูดไม่ถูกหลักไวทยากรณ์
  • พูดเสียงต่ำหรือดังเกิน
  • ไวต่อการสั่นสะเทือน
  • พูดเสียงแปลก  ใช้เสียงสูง
  • เวลาฟะงมักมองปากผู้พูด
  • มักทำหน้าเดียวเมื่อพูดด้วย
3. เด็กที่ความบกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Imparments)
  • มองไม่เห็น  หรือเห็นเลือนลาง
  • มองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้างไม่เกิน  30  องศา
จำแนกได้  2  ประเภท

1.) เด็กตาบอด
  • มองไม่เห็นเลย/เห็นบ้าง
  • ใช้ประสาทสัมผัสอื่น
  • สายตาข้างดีมองเห็นได้ระยะ 6/60,20/200
  • ลานสายตาสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
2.) เด็กตาบอดไม่สนิท
  • บกพร่องทางสายตาเห็นบ้างแต่ไม่ปกติ
  • อยู่ในระดับ 6/18 , 20/60 ,6/60, 20/200
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน  30  องศา
ลักษณะ
  • เดินงุ่มง่าม  ชน  และสะดุดวัตถุ
  • มองสีผิดปกติ
  • บ่นปวดหัว  คลื่นไส้  ตาลาย  คันตา
  • ก้มศีรษะชิดกับงาน  ของที่วางตรงหน้า
  • เพ่งตา  หรี่ตา  ปิดตาข้างหนึ่งเมื่อมอง
  • ตา&มือ  ไม่สัมพันธ์กัน
  • ลำบากในการจำ  การแยกสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1 วันที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

การเรียนการสอนในวันนี้
เนื่องจากวันนี้เป็นคาบแรกของการเรียนการสอนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED 2209)  ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
อาจารย์ได้พูดคุยกับนักนักศึกษาเกี่ยวกับแนวการสอน  ดังนี้
  • คำอธิบายรายวิชา
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
  • แผนการจัดการเรียนรู้
  • การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
  • เกณฑ์การประเมินผล
  • ข้อตกลงการเรียน
นอกจากนี้อาจารย์ยังให้นักศึกษาเขียนความรู้เดิมเกี่ยวกับเด็กพิเศษ
สรุปความรู้เดิมหัวข้อ  เด็กพิเศษ


อาจารย์มอบหมายงานดังนี้
  • ให้นักศึกษาหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • ให้นักศึกษานำเสนอประเภทของเด็กพิเศษ
  • อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาสรุปความรู้ลงใน Blog 
สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้
  • ได้เข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดการเรียนการสอนในรายวิชานี้ทำให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้