วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12 วันที่ 23 เดือนมกราคม พ.ศ.2557


วันนี้เพื่อนๆนำเสนองานที่ยังตกค้าง คือ เด็กออทิสติก (Autism)
  • เด็กออทิสติกหมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
  • เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองและแตกต่างจากคนอื่น
  • เด็กออทิสติกจะมีพัฒนาการด้านภาษาและพัฒนาการด้านสังคมต่ำมาก
  • ปรากฎในระยะ 3 ปีแรกของชีวิต
***วันนี้มีการสอบกลางภาคของรายวิชา ซึ่งเป็นการสอบนอกตาราง***

วันเสาร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 11 วันที่ 16 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

เนื่องเกิดเหตุการณ์ทางการเมือง เพื่อนๆหลายคนไม่สะดวกในการเดินทาง จึงจำเป็นต้องงดการเรียนการสอน อาจารย์มอบหมายงานให้สรุปงานวิจัยที่หามาใส่กระดาษ A4  มีหัวข้อดังนี้
  1. ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
  2. ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
  3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
  4. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
  5. นิยามศัพท์เฉพาะ
  6. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
  7. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
  8. การดำเนินการวิจัย
  9. สรุปผลการวิจัย
  10. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้


วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 10 วันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ.2557

การเรียนการสอนในวันนี้คือ ดูเพื่อนๆนำเสนองาน ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities) หรือเรียกย่อๆว่า L.D.
กลุ่มที่ 2 ซีพี หรือ ซีรีบรัล พัลซี่ (C.P. : Cerebral Palsy)
กลุ่มที่ 3 เด็กสมาธิสั้น Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders) หรือเรียกย่อๆว่า ADHD
กลุ่มที่ 4 ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome)
             
        ซึ่งกลุ่มของฉันนำเสนอเด็กซีพี เป็นอาการอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการผิดปกติอย่างถาวรจนทำให้การควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อสูญเสีย หรือบกพร่อง เช่น การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่กิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่คือ
- อัมพาตเกร็งของแขนขาครึ่งซีก
- อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ
- อัมพาตสูญเสียการทรงตัว
- อัมพาตตึงแข็ง
- อัมพาตแบบผสม

อาจารย์มีกิจกรรมให้นักศึกษาลองทำแบบทดสอบ Gesell Drawing Test

อ้างอิงภาพจาก  www.babyfancy.com

           เป็นการวัดความสามารถทางด้านกล้ามเนื้อมือและการประสานการทำงานระหว่างตากับมือตามระดับอายุ ที่ควรจะเป็น ซึ่งฉันสามารถทำได้

จากนั้นอาจารย์สอนเพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้วเรื่องพัมนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ดังนี้

แนวทางในในการดูแลรักษา

- หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
- การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
- การรักษาสาเหตุโดยตรง
- การสังเสริมพัฒนาการ
- ให้คำปรึกษากับครอบครัว

ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1. การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
2. การตรวจประเมินพัฒนาการ
3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557