วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4 วันที่ 28 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

การเรียนการสอนในวันนี้ มี 3 เรื่องดังนี้

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอามณ์ (Children with Behaviorally and Emotional Disorders)

        หมายถึง เด็กที่มีกล้ามเนื้อบกพร่องด้วย ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ปกตินานๆไม่ได้ ทำตามกฎเกณฑ์ไม่ได้เลย อารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
  • เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์ทำให้ก้าวร้าวมาก
  • เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ ทำให้เกิดความกังวล หนีสังคม ก้าวร้าว
การจะจัดว่าใครมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆดังนี้
  • สภาพแวดล้อม
  • ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์จะได้รับผลกระทบ ดังนี้
  • ไม่สามารถเรียนกับเด็กปกติได้
  • มักอยู่คนเดียว
  • เก็บกดเข้ากับคนิื่นไม่ได้
  • บ่นปวดตามร่างกาย
  • มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมรุนแรงมาก ได้แก่

1. เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
2. เด็กออทิสติก (Autistic)

ลักษณะเด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรม
  • ฉี่ราด
  • ติดขวดนม/ของใช้
  • ดูดนิ้ว/กัดเล็บ
  • หนีสังคม
  • พูดเพ้อเจ้อ
  • เรียกร้องความสนใจ
  • อ่อนไหว
  • อิจฉา/ก้าวร้าว
  • ฝันกลางวัน
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)

          หมายถึงเด็กที่มีเชาว์ปัญญาปกติหรือเรียกอีกอย่างว่าเด็ก L.D. มักมีปัญหาในการเรียนรู้บางอย่างเช่น การพูด การอ่าน การเขียน การฟัง การสะกดคำ การคำนวน ไม่รวมเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย เด็กพิการ

ลักษณะอาการ
  • มีปัญหาทักษะทางคณิตศาสตร์
  • ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
  • เรียงลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
  • ซุ่มซ่าม
  • เอาแต่ใจตัวเอง
เด็กออทิสติก(Autistic)

หมายถึง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าเริ่มตั้งแต่แรกเกิด-3ขวบ บกพร่องทางพฤติกรรมประกอบด้วย
  • เด็กที่บกพร่องทางรุนแรงในการสื่อสาร
  • เด็กแต่ละคลมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง
  • มีความบกพร่องทางสติปัญญานิดๆ แต่มีเชาว์ปัญญาปกติ
  • มีความอัจริยะ
  • มีทักษะทางสังคมน้อย
  • มีทักษะทางภาษาน้อย
  • ทักษะทางการเคลื่อนไหวและทักษะเกี่ยวกับรูปทรงมีค่อนข้างน้อย
ลักษณะอาการ
  • อยู่กับตัวเอง
  • ไม่เข้าหาคนอื่นเพื่อให้ปลอบ
  • ไม่เล่นกับกลุ่มเพื่อน
  • เรียกแล้วไม่หัน
  • ต่อต้าน แสดงอารมณ์อย่างไร้เหตุผล
  • ไม่ยอมพูด
  • ยึดติดกับวัตถุ
  • เหมือนหูหนวก
  • จ้องอะไรนานๆ
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)

หมายถึง เด็กที่มีความบกร่องมากกว่า 1 อย่าง เป็นเหตุให้มีปัญหาในการเรียนรู้ เช่น ปัญญาอ่อนร่วมกับหูหนวก หูหนวกร่วมกับตาบอด

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3 วันที่ 21 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with physical and Health Impairments)

  • อวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดหายไป
  • ปัญหาระบบประสาท
  • ลำบากต่อการเคลื่อนไหว
จำแนกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. บกพร่องทางร่างกาย  ได้แก่
       ซีพี (Cerebral Palsy)
  • เกิดจากสมองพิการ  สมองถูกทำลายก่อนคลอด  ระหว่างคลอด  หรือหลังคลอด
  • เคลื่อนไหว  พูด  พัฒนาการล่าช้า
อาการ
  • อัมพาตเกร็ง  แขน  ขา  ครึ่งซีก
  • เคลื่อนไหวผิดปกติ
  • สูญเสียการทรงตัว 
       กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
  • เส้นประสาทควบคุมสมองกล้ามเนื้อสลายตัว
  • เดินไม่ได้  นั่งไม่ได้  นอนอยู่กับที่
  • พิการซ้ำซ้อนภายหลัง  ความจำแย่ลง  ปัญญาเสื่อม
       โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic)
  •  ระบบกล้ามเนื้อพิการตั้งแต่กำเนิด เท้าปุก
  • กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน
  • อัมพาตครึ่งท่อน
  • กระดูกกล้ามเนื้อจากโคติดเชื้อ
  • กระดูกหัก  ข้อเคลื่อน
       โปลีโอ (Poliomyelitis)
  • กล้ามเนื้อเฃลีบเล็ก
  • เชื้อเข้าทางปาก
       แขนขาด้านตั้งแต่กำเนิด (Limb Deficiency)
       โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis  Imperfeta)
2. บกพร่องทางสุขภาพ  ได้แก่
       โรคลมชัก  (Epilepsy)

  • เกิดจากความผิดปกติของสมอง
  • ลมบ้าหมู  ชักหมดสติ  แขนขากระตุก  กัดฟัน  กัดลิ้น
  • การชักในช่วงเวลาสั้นๆ  5-10  วินาที  เด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก  อาจนั่งเฉย  ตัวสั่น  เล็กน้อย
  • การชักแบบรุนแรง  ส่งเสียง  หมดความรู้สึกล้มลง  กล้ามเนื้อเกร็ง  2-5  นาที
  • อาการชักแบบ  Partial  Complex  เกิดเป็นระยะ  กัดริมฝีปาก  ไม่รู้สึกตัว  ดูตามแขนขา  เดินไปมา  อาจโกรธ  หลังชักจำไม่ได้  ต้องการนอนพัก
  • อาการไม่รู้สึกตัว  ระยะสั้น  ไม่รู้สึกตัว  อาจร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า  เดินเหม่อลอย
       โรคระบบทางเดินหายใจ
       โรคเบาหวาน
       โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
       โรคศีรษะโต
       โรคหัวใจ
       โรคมะเร็ง
       เลือดไหลไม่หยุด

ลักษณะบกพร่องทางร่างกายและบกพ่องทางสุขภาพ

  • มีปัญหาการทรงตัว
  • เดินคล้ายกรรไกร
  • เดินขากะเผลก  อืดอาด  เชื่องช้า
  • ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
  •   มักบ่นเจ็บหน้าอก  บ่นปวดหัว
  • หน้าแดงง่าย  สีเขียวจางบนแก้ม  ปาก  ปลายนิ้ว
  • ล้มบ่อย
  • หิวและกระหายน้ำเกินกว่าเหตุ
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(Children  with  Speech  and  Language  Impairment)
       1.) ผิดปกติด้านการออกเสียง
  • เพี้ยนจากภาษาเดิม
  • เพิ่มเสียง
  • ใช้อีกเสียงแทนเสียงเดิม
       2.) ความผิดปกติด้านจังหวะ  เวลาพูด  เช่น  พูดรัว  พูดติดอ่าง
       3.) ความผิดปกติด้านเสียง
  • ระดับเสียง
  • ความดัง
  • คุณภาพเสียง
4.) ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิที่สมอง  เรียกว่า  Dysphasia  หรือ  Aphasia  แบ่งเป็น
  • Motor Aphasia  เข้าใจคำสั่ง  แต่พูดตอบไม่ได้  ออกเสียงลำบาก
  • Wernicks  Aphasia  ไม่เข้าใจคำสั่ง  ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย  ออกเสียงไม่ติดขัดแต่ใช้คำผิดหรือไม่มีความหมาย
  • Conduction  Aphasia  ออกเสียงไม่ติดขัด  เข้าใจคำถาม  แต่พูดตามไม่ได้  บอกชื่อสิ่งของไม่ได้  เกิดร่วมกับอัมพาตของร่างกสยซีกขวา
  • Nominal  Aphasia  ออกเสียงได้  เข้าใจคำถามดี  พูดตามได้  แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้
  • Global  Aphasia  ไม่เข้าใจภาษาพูด  ภาษเขียน  พูดไม่ได้
  • Sensory  Agrophia  เขียนเองไม่ได้  เขียนตอบคำถาม  ชื่อวัตถุไม่ได้  แต่เขียนตามได้
  • Motor  Agraphia  ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้  เขียนตามคำบอกไม่ได้
  • Cortical  Alexa  อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา
  • Motor  Alexia  เห็นตัวหนังสือแล้วเข้าใจ  แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
  • Gerstmann' s syndrome
- ไม่รู้ชื่อนิ้ว
- ไม่รู้ซ้าย  ขวา
-  คำนวนไม่ได้
-  เขียนไม่ได้
- อ่านไม่ออก
  • Visual  Agnosia  เห็นวัตถุแต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร
  • Auditory  Agnosia  ไม่บกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายที่ได้ยินไม่เข้าใจ
ลักษณะ
  • วัยทารกมักเงียบผิดปกติ  ร้องไห้เบาๆ  อ่อนแรง
  • ไม่อ้อแอ้ภายใน  10  เดือน
  • ไม่พูดภายใน  2  ขวบ
  • หลัง  3  ขวบยังฟังไม่เข้าใจ
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
  • หลัง  5  ขวบ  ใช้ภาษาไม่สมบูรณ์
  • มีปัญหาการสื่อความหมาย  พูดตะกุกตะกัก
  • ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2 วันที่ 14 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556


สรุปความรู้จากการเรียนได้ดังนี้

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
       ความหมายทางการแพทย์มักเรียกว่า "เด็กพิการ"  ซึ่งมีความผิดปกติ  มีความบกพร่อง  สูญเสียสมรรถภาพ  อาจเป็นความผิดปกติความบกพร่องทางกาย  สูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา  ทางจิตใจ
       ความหมายทางการศึกษามักเรียกว่า เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะตัวเอง  ต่างจากเด็กปกติด้านเนื้อหา  หลักสูตร  กระบวนการที่ใช้  และการประเมินผล
       สรุป  เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้ความช่วยเหลือ  และการสอนตามปกติ
       -สาเหตุ  ความบกพร่องทางด้านร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์
       -จำเป็นต้อง  ได้รับการกระตุ้น  ช่วยเหลือ  บำบัด  ฟื้นฟู
       -จัดการเรียน  ให้เหมาะกับลักษณะและความต้องการของแต่ละบุคคล

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาเลิศ  ลักษณะความสามารถสูง
2. กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่อง 9 ประเภท  ได้แก่
- บกพร่องทางสติปัญญา
- บกพร่องทางการได้ยิน
- บกพร่องทางการเห็น
- บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
- บกพร่องทางการพูดและภาษา
- บกพร่องทาพฤติกรรมและอารมณ์
- ปัญหาทางการเรียนรู้
- เด็กออทิสติก
- เด็กพิการซ้อน

1. เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา (Children with Intellectual Disabities)

(ระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย  เมื่อเทียบกับเด็กรุ่นเดียวกัน)
       เด็กเรียนช้า  สามารถเรียนชั้นปกติได้  ความสามารถทางการเรียนล่าช้า  บกพร่องเล็กน้อย
สาเหตุจากภายนอก = สิ่งแวดล้อม  ครอบครัว
สาเหตุจากภายใน = พัฒนาการช้า  การเจ็บป่วย
       เด็กปัญญาอ่อน
  • มีภาวะพํฒนาการหยุดชะงัก
  • มีสติปัญญาต่ำ
  • ความสามารถการเรียนรู้น้อย
  • จำกัดด้านทักษะ
  • พัฒนาการล่าช้า
  • ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมยาก
เด็กปัญญาอ่อน  แบ่งได้  4  กลุ่ม
  1. ปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก  (IQ ต่ำกว่า  20 )  ไม่สามารถเรียนรู้ได้ต้องรักษาพยาบาลเท่านั้น
  2. ขนาดหนัก (IQ 20-34) ไม่สามารถเรียนได้  ช่วยเหลือตนเองได้เล็กน้อย  C.M.R
  3. ปัญญาอ่อนปานกลาง  (IQ 35-49) เรียนทักษะง่ายๆได้ T.M.R
  4. ปัญญาอ่อนน้อย (IQ 50-70) เรียนระดับประถมได้ E.M.R
ลักษณะ
  • ไม่พูด  พูดไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น
  • รุนแรง  ไม่มีเหตุผล
  • อารมณ์เปลี่ยนบ่อย รอคอยไม่ได้
  • ทำงานช้า
  • อวัยวะมีรูปร่างผิดปกติ
  • ช่วยตนเองได้น้อยกว่าววัยเดียวกัน
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)
สูญเสียการได้ยิน แบ่งได้  2  ประเภท

1.) หูตึง
  • หูตึงระดับน้อย  ได้ยินระหว่าง  26-40 db
  • หูตึงระดับปานกลาง  ได้ยินระหว่าง  41-55  db
  • หูตึงระดับมาก  ได้ยินระหว่าง  56-70  db
  • หูตึงระดับรุนแรง  ได้ยินระหว่าง  71-90  db 
2.) หูหนวก
  • สูเสียการได้ยิน  หมดโอกาสเข้าใจภาษาพูดจากการฟัง  ใช้เครีื่องช่วยฟังไม่ได้
  • ได้ยินตั้งแต่  90 db  ขึ้นไป
ลักษณะ
  • ไม่ตอบสนองเสียงพูด
  • พูดไม่ถูกหลักไวทยากรณ์
  • พูดเสียงต่ำหรือดังเกิน
  • ไวต่อการสั่นสะเทือน
  • พูดเสียงแปลก  ใช้เสียงสูง
  • เวลาฟะงมักมองปากผู้พูด
  • มักทำหน้าเดียวเมื่อพูดด้วย
3. เด็กที่ความบกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Imparments)
  • มองไม่เห็น  หรือเห็นเลือนลาง
  • มองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้างไม่เกิน  30  องศา
จำแนกได้  2  ประเภท

1.) เด็กตาบอด
  • มองไม่เห็นเลย/เห็นบ้าง
  • ใช้ประสาทสัมผัสอื่น
  • สายตาข้างดีมองเห็นได้ระยะ 6/60,20/200
  • ลานสายตาสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
2.) เด็กตาบอดไม่สนิท
  • บกพร่องทางสายตาเห็นบ้างแต่ไม่ปกติ
  • อยู่ในระดับ 6/18 , 20/60 ,6/60, 20/200
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน  30  องศา
ลักษณะ
  • เดินงุ่มง่าม  ชน  และสะดุดวัตถุ
  • มองสีผิดปกติ
  • บ่นปวดหัว  คลื่นไส้  ตาลาย  คันตา
  • ก้มศีรษะชิดกับงาน  ของที่วางตรงหน้า
  • เพ่งตา  หรี่ตา  ปิดตาข้างหนึ่งเมื่อมอง
  • ตา&มือ  ไม่สัมพันธ์กัน
  • ลำบากในการจำ  การแยกสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 1 วันที่ 7 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556

การเรียนการสอนในวันนี้
เนื่องจากวันนี้เป็นคาบแรกของการเรียนการสอนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ (EAED 2209)  ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิน
อาจารย์ได้พูดคุยกับนักนักศึกษาเกี่ยวกับแนวการสอน  ดังนี้
  • คำอธิบายรายวิชา
  • ผลลัพธ์การเรียนรู้
  • แผนการจัดการเรียนรู้
  • การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
  • เกณฑ์การประเมินผล
  • ข้อตกลงการเรียน
นอกจากนี้อาจารย์ยังให้นักศึกษาเขียนความรู้เดิมเกี่ยวกับเด็กพิเศษ
สรุปความรู้เดิมหัวข้อ  เด็กพิเศษ


อาจารย์มอบหมายงานดังนี้
  • ให้นักศึกษาหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • ให้นักศึกษานำเสนอประเภทของเด็กพิเศษ
  • อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาสรุปความรู้ลงใน Blog 
สิ่งที่ได้รับความรู้ในวันนี้
  • ได้เข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดการเรียนการสอนในรายวิชานี้ทำให้สามารถวางแผนการเรียนในอนาคตได้