วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2 วันที่ 14 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2556


สรุปความรู้จากการเรียนได้ดังนี้

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
       ความหมายทางการแพทย์มักเรียกว่า "เด็กพิการ"  ซึ่งมีความผิดปกติ  มีความบกพร่อง  สูญเสียสมรรถภาพ  อาจเป็นความผิดปกติความบกพร่องทางกาย  สูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา  ทางจิตใจ
       ความหมายทางการศึกษามักเรียกว่า เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะตัวเอง  ต่างจากเด็กปกติด้านเนื้อหา  หลักสูตร  กระบวนการที่ใช้  และการประเมินผล
       สรุป  เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้ความช่วยเหลือ  และการสอนตามปกติ
       -สาเหตุ  ความบกพร่องทางด้านร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์
       -จำเป็นต้อง  ได้รับการกระตุ้น  ช่วยเหลือ  บำบัด  ฟื้นฟู
       -จัดการเรียน  ให้เหมาะกับลักษณะและความต้องการของแต่ละบุคคล

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาเลิศ  ลักษณะความสามารถสูง
2. กลุ่มเด็กที่มีความบกพร่อง 9 ประเภท  ได้แก่
- บกพร่องทางสติปัญญา
- บกพร่องทางการได้ยิน
- บกพร่องทางการเห็น
- บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
- บกพร่องทางการพูดและภาษา
- บกพร่องทาพฤติกรรมและอารมณ์
- ปัญหาทางการเรียนรู้
- เด็กออทิสติก
- เด็กพิการซ้อน

1. เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา (Children with Intellectual Disabities)

(ระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย  เมื่อเทียบกับเด็กรุ่นเดียวกัน)
       เด็กเรียนช้า  สามารถเรียนชั้นปกติได้  ความสามารถทางการเรียนล่าช้า  บกพร่องเล็กน้อย
สาเหตุจากภายนอก = สิ่งแวดล้อม  ครอบครัว
สาเหตุจากภายใน = พัฒนาการช้า  การเจ็บป่วย
       เด็กปัญญาอ่อน
  • มีภาวะพํฒนาการหยุดชะงัก
  • มีสติปัญญาต่ำ
  • ความสามารถการเรียนรู้น้อย
  • จำกัดด้านทักษะ
  • พัฒนาการล่าช้า
  • ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมยาก
เด็กปัญญาอ่อน  แบ่งได้  4  กลุ่ม
  1. ปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก  (IQ ต่ำกว่า  20 )  ไม่สามารถเรียนรู้ได้ต้องรักษาพยาบาลเท่านั้น
  2. ขนาดหนัก (IQ 20-34) ไม่สามารถเรียนได้  ช่วยเหลือตนเองได้เล็กน้อย  C.M.R
  3. ปัญญาอ่อนปานกลาง  (IQ 35-49) เรียนทักษะง่ายๆได้ T.M.R
  4. ปัญญาอ่อนน้อย (IQ 50-70) เรียนระดับประถมได้ E.M.R
ลักษณะ
  • ไม่พูด  พูดไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น
  • รุนแรง  ไม่มีเหตุผล
  • อารมณ์เปลี่ยนบ่อย รอคอยไม่ได้
  • ทำงานช้า
  • อวัยวะมีรูปร่างผิดปกติ
  • ช่วยตนเองได้น้อยกว่าววัยเดียวกัน
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)
สูญเสียการได้ยิน แบ่งได้  2  ประเภท

1.) หูตึง
  • หูตึงระดับน้อย  ได้ยินระหว่าง  26-40 db
  • หูตึงระดับปานกลาง  ได้ยินระหว่าง  41-55  db
  • หูตึงระดับมาก  ได้ยินระหว่าง  56-70  db
  • หูตึงระดับรุนแรง  ได้ยินระหว่าง  71-90  db 
2.) หูหนวก
  • สูเสียการได้ยิน  หมดโอกาสเข้าใจภาษาพูดจากการฟัง  ใช้เครีื่องช่วยฟังไม่ได้
  • ได้ยินตั้งแต่  90 db  ขึ้นไป
ลักษณะ
  • ไม่ตอบสนองเสียงพูด
  • พูดไม่ถูกหลักไวทยากรณ์
  • พูดเสียงต่ำหรือดังเกิน
  • ไวต่อการสั่นสะเทือน
  • พูดเสียงแปลก  ใช้เสียงสูง
  • เวลาฟะงมักมองปากผู้พูด
  • มักทำหน้าเดียวเมื่อพูดด้วย
3. เด็กที่ความบกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Imparments)
  • มองไม่เห็น  หรือเห็นเลือนลาง
  • มองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
  • มีลานสายตากว้างไม่เกิน  30  องศา
จำแนกได้  2  ประเภท

1.) เด็กตาบอด
  • มองไม่เห็นเลย/เห็นบ้าง
  • ใช้ประสาทสัมผัสอื่น
  • สายตาข้างดีมองเห็นได้ระยะ 6/60,20/200
  • ลานสายตาสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
2.) เด็กตาบอดไม่สนิท
  • บกพร่องทางสายตาเห็นบ้างแต่ไม่ปกติ
  • อยู่ในระดับ 6/18 , 20/60 ,6/60, 20/200
  • มีลานสายตาโดยเฉลี่ยสูงสุดไม่เกิน  30  องศา
ลักษณะ
  • เดินงุ่มง่าม  ชน  และสะดุดวัตถุ
  • มองสีผิดปกติ
  • บ่นปวดหัว  คลื่นไส้  ตาลาย  คันตา
  • ก้มศีรษะชิดกับงาน  ของที่วางตรงหน้า
  • เพ่งตา  หรี่ตา  ปิดตาข้างหนึ่งเมื่อมอง
  • ตา&มือ  ไม่สัมพันธ์กัน
  • ลำบากในการจำ  การแยกสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น